Mobile Tower เสาสัญญาณมือถือมีกี่แบบ

tower, antennas, technology-820001.jpg

เขียนเรื่องเกี่ยวกับ เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เผื่อมีคนสนใจ

ความสูงของเสาแต่ละประเภท

เพิ่มเติมในการออกแบบ พื้นที่เป็นส่วนสำคัญ เรื่องลักษณะของดิน ฐานราก ต้องให้วิศวกร โยธา (civil Engineer ) เป็นผู้ออกแบบ บ้านเรายังดีไม่มีเรื่องของแผ่นดินไหว มากนัก ในบางประเภท ปัจจัยนี้อาจนำมาคำนวณร่วมด้วยเป็นข้อมูลต้นๆ

การเลือกเสา จะเลือกเผื่อทั้งความสูงและ การรองรับของน้ำหนักของอุปกรณ์ที่จะมีในอนาคต เช่นการเพิ่ม RRU, Antenna ระบบความถี่ต่างๆ

หากเราจะเริ่มต้นแบ่งลักษณะเสาก็จะเริ่มจาก Coverage ก่อน

ลักษณะพื้นที่ครอบลุมของสัญญาณ

อย่างที่ทราบกันว่ายิ่ง Antenna ติดที่ตำแหน่งสูง ก็จะสามารถส่งไปได้ไกลขึ้น เพราะข้ามหัวสิ่งกีดขวาง แต่ในบางกรณี ความสูงที่มากเกินไปก็เกิดปัญหาได้ เช่นในเมือง ไม่จำเป็นต้องการความสูงเพราะจะเกิดสัญญาณ รบกวนกันเอง (จากการ overshoot)

เริ่มดูรายละเอียดเสาแต่ละประเภทกัน

ขนาดของเสา Pole ก็ต้องมีการคำนวณต่ออุปกรณ์ที่จะมาติดตั้ง รับน้ำหนักได้เท่าไหร่

การสร้างการจับยึดต่อตัวอาคารก็มีความจำเป็น หลังคาของอาคารรองรับน้ำหนัก (Workload) ได้เท่าไร่ การเจาะยึดด้วย พุกประเภทไหน ขนาดเท่าไร่ ล้วนมีความสำคัญ ต้องใช้ Civil Engineer และช่างที่มีความรู้ในการติดตั้ง มาทำงานด้วยนะครับ

ทบทวน รูปเสา Pole ด้านขวาสุดติดตั้งเพื่อ T-boom Coverage ยิงให้มีสัญญาณภายในอาคารสูง

สิ่งที่ต้องเน้นให้ระวังอีกครั้งคือเรื่องความปลอดภัย เพราะระเบียงกันตก ในบางที่ไม่ได้มีความสามารถที่จะรองรับการติดอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากๆ ได้ ต้องมีการคำนวณอย่างถูกต้อง และเพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งจากภายในอาคาร หากเกิดที่ยึดไม่แน่น อุปกรณ์จะไม่ได้ร่วงหล่น ลงทำอันตรายคนข้างล่าง

ปกติการติดตั้งบนเสาไฟฟ้า จะมีการแบ่งระดับการติดตั้งเพื่อความปลอดภัย ยิ่งโดยเฉพาะ เสาที่มีสายไฟแรงสูง ควรหลีกเลี่ยงก่อน โดยระดับบนๆของเสา จะเป็นตำแหน่งของสายไฟ ส่วนระดับล่างลงมาจะเป็นส่วนของ สายและอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ซึ่งในที่นี้ เราจะติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Small Cell

ป้าย Billboard ในปัจจุบันมีการนิยมติดอุปกรณ์มากขึ้น ตั้งแต่สมัยของ 3G เนื่องจากอุปกรณ์เป็น RRU ไม่ได้ต้องลากสาย Feeder เยอะ และบาง Site อาจจจะไม่มีที่ติดตั้ง Rectifier หรือ MU เป็นการลาก Remote มาจาก Site ข้างเคียง จึงสามารถติดตั้งได้ รวดเร็ว และง่าย ต่อการเปิดใช้งานกว่าอดีต

หวังว่าเนื้อหาจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจบ้างนะครับ

By Santiphap Utta (yordja) 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *